ข้ามไปยังเนื้อหา

อินเตอร์เน็ต และสื่อสารดาวเทียม ขยายอรรถรสในทางการเมือง

วันอังคาร 14 กรกฎาคม 2009

Internet, Satellite Communications Widen Political Debate in Thailand 
By Ron Corben, Bangkok
July 8,  2009
ที่มา – Voice of America news
แปลและเรียบเรียง – chapter 11

ประเทศไทยได้ผ่านขั้นตอนการพัฒนาอย่างแท้จริงไปสู่การออกอากาศจากสถานีผ่านดาวเทียมและการใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นการท้าทาย การออกอากาศแบบเดิม เพื่อนำไปสู่การถกเถียงในทางการเมือง แต่เกิดความกังวลขี้นว่ารัฐบาลในขณะนี้ต้องการตัดอำนาจคู่แข่งรายใหม่

ย้อนกลับไปในปี ๒๕๔๘ เมื่อสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าพ่อสื่อไทยเริ่มทำการออกอากาศเผยแพร่การชุมนุมต่อต้านนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เขาได้นำร่องการพัฒนาเทคนิกในการถกเถียงทางการเมืองสำหรับประเทศไทย
 
สนธิใช้เครือข่ายเอเอสทีวีโดยการอัดคำพูดลงในอินเตอร์เน็ต จากนั้นส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมออกรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย เป็นการนำการเมืองไปสู่ผู้ชมได้กว้างไกลขี้น

คริสต์ เบเกอร์ นักเขียนและนักวิจารณ์การเมืองไทยได้กล่าวว่า สนธิฉวยประโยชน์จากช่องว่างทางกฎหมายกระจายเสียงของไทย เขากล่าวต่อว่า เป็นการสื่อสารนอกเหนืออำนาจควบคุมของรัฐบาล

เขากล่าวต่อว่า “ความสามารถในการส่งสัญญาณออกอากาศผ่านอินเตอร์เน็ตที่อยู่นอกประเทศไทย และมาอับโหลดอย่างถูกกฎหมายโดยผ่านสถานีดาวเทียม นั่นเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร เพราะรัฐบาลปราศจากเครื่องมือทางกฎหมายใดๆที่จะควบคุมได้” “โดยทันทีทันใด คุณได้เห็นการถกเถียงทางการเมืองถ่ายทอดออกโทรทัศน์ในระดับที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน”

รัฐบาลเกือบจะเป็นผู้ควบคุมคลื่นความถึ่การออกอากาศ ในระหว่างที่คุณทักษิณเป็นรัฐบาลนั้น เขาได้จำกัดขอบเขตของสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งเคยเป็นตัวกำหนดทิศทางการถกเถียงทางการเมืองมานานนับทศวรรษ

เอเอสทีวีของสนธิได้ทำการยั่วยุให้มีการขับไล่คุณทักษิณ โดยเฉพาะในหมู่ของชนชั้นกลางในเมืองหลวง ซึ่งคิดแต่เพียงว่าคุณทักษิณฉ้อราษฎร์และเป็นเผด็จการ จนในที่สุดคุณทักษิณก็ถูกปล้นอำนาจจากการทำรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ และขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างลี้ภัยนอกประเทศ

แต่คุณทักษิณยังคงมีอิทธิพลต่อการเมืองไทย ในทางกลับกัน อดีตผู้ประกอบการมหาเศรษฐีด้านโทรคมนาคมผู้นี้ ได้ใช้เทคโนโลยี่เพื่อให้กำลังใจต่อผู้สนับสนุนเขา โดยเฉพาะประชาชนชาวชนบทและคนยากจนในเมืองหลวง ในระหว่างหกเดือนที่ผ่านมาคุณทักษิณได้ปลุกระดมผ่านทางดาวเทียมและทางอินเตอร์เน็ต กระตุ้นให้ผู้สนับสนุนเขาซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเสื้อแดงทำการกดดันให้มีการเลือกตั้งใหม่

ผู้สนับสนุนบางคนได้ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์เพื่อประชาธิปไตย – ดีทีวี – เพื่อทำการออกอากาศการชุมนุมโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ตและสถานีวิทยุท้องถิ่นขนาดเล็กๆ

นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ทีพีบีเอส) ได้กล่าวว่า ทั้งเอเอสทีวี และดีทีวีต่างมีมุมมองทางการเมืองอย่างสุดโต่ง แต่ทีวีทั้งสองช่องนี้ถือได้ว่าเป็นเรื่องดี

นายเทพชัยได้กล่าวว่า “ทีวีทั้งสองช่องได้ช่วยปลุกให้ประชาชนมีการตื่นตัวว่าเกิดอะไรขี้นในบ้านการเมืองขณะนี้” “บางคนเชื่อว่าสื่อหลักไม่ได้กระทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีพอ พวกเขาจึงต้องหันหน้าไปหาสื่ออย่างอื่นแทน”

ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล และสนับสนุนนายกทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกปล้นอำนาจ ได้เคยจุดไฟเผารถเมล์ในระหว่างการประท้วงในกรุงเทพ เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๒

แต่รัฐบาลได้จับตามองอย่างใกล้ชิดในการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมและทางอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะหลังจากการจราจลของเสื้อแดงที่ทำให้กรุงเทพสั่นสะเทือนในเดือนเมษายน และบังคับให้มีการยกเลิกการประชุมสุดยอดแห่งอาเซียน

ในทันทีหลังจากการจราจล เจ้าหน้าที่ได้ทำการสะกัดกั้นการส่งสัญญาณของดีทีวี สถานีวิทยุชุมชนท้องถิ่น และเว็บไซต์จำนวนมากมาย

กลางเดือนมิถุนายน กลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณได้ก่อตั้งสถานีผ่านดาวเทียมใหม่ พร้อมทั้งสถานีวิทยุุชุมชนท้องถิ่นได้กลับมาออกอากาศอีกครั้ง และยังได้ออกหนังสือพิมพ์ใหม่ด้วย

นอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยี่ในการเผยแพร่การถกเถียงทางการเมือง ไม่กี่ปีมานี้ชื่อเสียงของประเทศไทยทางด้านความมีเสรีภาพของสื่อได้ตกลงไป ในปี ๒๕๕๒ ฟรีด่อมเฮ้าส์ ในนครนิวยอร์ค องค์กรพลเรือนอิสระที่สำรวจความมีเสรีภาพทั่วโลก ผลจากการสำรวจใน ๑๙๕ ประเทศ ความมีเสรีภาพของสื่อในประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ ๑๒๒ ในขณะที่ในปี ๒๕๔๓ ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ ๒๙

ในปี ๒๕๕๐ กฎหมายควบคุมอินเตอร์เน็ตได้ถูกนำมาบีบบังคับใช้มากขี้น เว็บไซต์จำนวนนับพันที่ถูกกล่าวหาว่า ดูหมิ่นราชวงศ์ไทยได้ถูกสะกัดกั้นหรือแม้แต่โดนปิด

เจ้าหน้าที่ได้สะกัดกั้นเว็บไซต์ โดยเฉพาะที่นิยมทักษิณ

สุภิญญา กลางณรงค์ นักรณรงค์เกี่ยวกับอิสระภาพของสื่อได้กล่าวว่า การต่อสู้เพื่อเสรีภาพของสื่อได้ย้ายจากสื่อสิ่งพิมพ์ไปเป็นสื่อทางอินเตอร์เน็ต เธอกล่าวต่อว่า กว่า ๑,๐๐๐ เว็บไซต์ได้ถูกสะกัดกั้น และผู้ที่ถูกตัดสินว่ากระทำผิดโดยล่วงละเมิดกฎหมายอินเตอร์เน็ตอาจจะต้องโทษถึงการจำคุก

สุภิญญากล่าวว่า “ดิฉันคิดว่า บรรยากาศที่น่าสพรึงกลัว และวิธีการที่ใช้ในการควบคุมสื่อทางออนไลน์นี้มีแต่เพิ่มมากขี้น”

นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่า เขาต้องการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแห่งเสรีภาพของสื่อในภูมิภาค คุณอภิสิทธิ์ได้กล่าวต่อว่า รัฐบาลจะพยายามเลี่ยงการปิดเว็บไซต์ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่เชื่อว่าทำการโจมตีราชวงศ์ แต่กลับกลายเป็นว่า คุณอภิสิทธิ์ได้ใช้กฎหมายมาเล่นงานพวกเขาเหล่านั้นแทน

การดิ้นรนเพื่อการถกเถียงทางการเมืองในประเทศไทย ได้เปลี่ยนไปสู่อินเตอร์เน็ต สุภิญญามองเห็นว่าในอนาคตข้างหน้าไม่นานนี้ รัฐบาลไทยจะถูกกดดันอย่างหนักเมื่อประชาชนได้เข้าสู่โลกออนไลน์เพื่อแสดงมุมมองของตัวเองมากขี้น ซึ่งหลายๆคนรู้สึกว่า สื่อซึ่งออกอากาศแบบเดิมกำลังถูกมองข้ามไป

One Comment leave one →
  1. วันพฤหัสบดี 16 กรกฎาคม 2009 14:52 น.

    ข้อมูลอาจแตกต่างจากข้อเท็จจริง และประชาชนชาวไทยที่บริโภคข้อมูลจึงควรแล้วที่จะมีสิทธิ์ในการบริโภคภายใต้รัฐธรรมนูญไทย ข้อมูลใดที่ไม่มีข้อเท็จจริงย่อมจะสูญหายไปจากระบบสื่อสาธารณะที่ปรากฏให้ประชาชนได้บริโภคอยู่แล้ว

ใส่ความเห็น