ข้ามไปยังเนื้อหา

รายงาน “กฎหมายหมิ่นในประเทศไทย: ศัตรูของประชาธิปไตย”

วันอังคาร 3 มีนาคม 2009

Report on “Lèse Majesté in Thailand: The Enemy of Democracy”
๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
by Lee Jones
ที่มา – New Mandala
แปลและเรียบเรียง – แชพเตอร์ ๑๑

หลังจากใจได้บรรยายที่ SOAS จุดหมายที่สองของการตระเวนบรรยายในมหาวิทยาลัยใหญ่ๆในอังกฤษในการวิจารณ์การเมืองร่วมสมัยของไทยคือที่อ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งใจได้พำนักอยู่ขณะนี้หลังจากใจและภรรยาและบุตรชายหนีออกจากประเทศไทย มีคนร่วมฟังการบรรยายประมาณ ๖๐ คน ซึ่งผมเป็นประธานจัดงาน

คนร่วมฟังเป็นคนไทยทั้งหมด บางคนได้เห็นใจกับคุณใจ และบางคนสมน้ำหน้า ก่อนการบรรยายได้มีหนุ่มคนหนึ่งใส่เสื้อเหลือง และบนเสื้อมีเครื่องหมายของราชวงศ์ ถามใจว่าเขาสามารถจะแย้งใจได้หรือไม่และ “ปกป้องกษัตริย์ของเขา” และเขาได้รับอนุญาตให้แจกแผ่นเอกสารขนาด a4 ซึ่งเป็นการวิจารณ์ใจ การบรรยายคุณสามารถฟังได้ที่นี่ (เสียงภาษาอังกฤษ)

ใจได้แนะนำเนื้อหาสาระสำคัญในหนังสือ รัฐประหารเพื่อคนรวย ซึ่งทำให้ใจมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ของไทย ใจได้แย้งว่าการทำรัฐประหารและผู้สนับสนุนคือนายพลในกองทัพ ผู้มีอำนาจ และศักดินาชนชั้นกลางที่มีความรังเกียจคนยากจนและประชาธิปไตย เพื่อรักษา “เครือข่ายผลประโยชน์ของตัวเอง” ซึ่งทักษิณเป็นผู้เข้ามาล่วงล้ำสิทธิอันนี้

ใจไม่เห็นด้วยกับการบอกของแฮนด์ลี่ที่ว่ากษัตริย์เป็น “บุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในประเทศไทย” ใจได้อธิบายว่ากษัตริย์เป็นบุคคลที่อ่อนแอและโดนอำนาจที่เหนือกว่าชักใยได้  จากหัวข้อ นิว แมนดาลา “การอุ้มชูโดยกองทัพ”

ใจยังได้วิจารณ์อย่างสาดเสียเทเสียต่อการใช้อำนาจในทางที่ผิดของทักษิณ แต่ได้ให้ข้อสังเกตว่าการกล่าวหาทักษิณในเรื่องคอรัปชั่นซึ่งมันก็เกิดขึ้นกับนักการเมืองไทยทุกคน การกล่าวหาเรื่องทักษิณโกงภาษีควรจะขยายรวมความถึงกษัตริย์ด้วย อย่างไรก็ดี ใจได้ให้เหตุผลว่าอย่างน้อยทักษิณ “มีความทันสมัย” ในการตั้งพรรคการเมืองอย่างแท้จริง มีนโยบายที่จริงจังซึ่งผู้สนับสนุนสามารถประเมินผลและเลือกที่จะสนับสนุนได้

ในขณะที่ใจยังคงตราหน้าพันธมิตรว่า “เผด็จการ” ใจได้กล่าวถึงการวิจารณ์ต่อพวกซ้ายที่ได้แตกแยกไปเป็นกลุ่มที่รักษาผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งต้องการให้จำกัดอำนาจฝ่ายการเมืองและทำให้ไม่เป็นการเมือง (depoliticization) ซึ่งทำให้พวกนี้ไม่ยอมวิจารณ์การทำรัฐประหาร

ใจขยายการวิเคราะห์ของเขาในเรื่องสถานการณ์ปัจจุบันด้วย ซึ่งไม่ได้ปรากฏในหนังสือนี้ ใจให้ความเห็นว่าลัทธิสังคมนิยมใหม่ได้รับการปกป้องในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ โดยการอ้างถึง “วินัยทางการเงิน (Fiscal Discipline) และเน้นแนวคิดที่ล้าหลังของกษัตริย์ใน “เศรษฐกิจพอเพียง” สองสามอย่างเกี่ยวกับความคิดเพ้อฝันของเสรีนิยมใหม่ (neoliberal) ซึ่งก่อนหน้านี้ของประชาธิปัตย์ที่แสดงออกกับวิกฤติการเงินของเอเชียในปี ๒๕๔๐ ใจได้แย้งว่ารัฐบาลไทยในขณะนี้ไม่มีความสามารถในการหาวิธีแก้ปัญหาต่อผลกระทบวิกฤติทางการเงินของโลกในขณะนี้ อันมีผลต่อประเทศไทยได้ ซึ่งจะต้องกระตุ้นแบบทุ่มเงินอย่างไม่อั้นอย่างในอังกฤษและอเมริกา

บางทีการยืนยันคือการพูดเกี่ยวกับเสื้อแดงที่เป็นตัวแทนของ “การเกิดใหม่ของประชาสังคม” ในประเทศไทย เขากล่าวว่าได้มีสัญญาณว่าเสื้อแดงได้มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก เกินกว่าครั้งที่เริ่มต้นใหม่ๆของการเคลื่อนไหวที่นำโดยพรรคพวกของทักษิณ: มีความเป็นตัวของตัวเอง มีการรวมกลุ่มกันเอง และมีกลุ่มช่วยเหลือทางการเงิน ซึ่งขณะนี้ได้มีความชัดเจนท่ามกลางการเคลื่อนไหวของฝูงชนที่ค่อนข้างจะดำเนินงานอย่างสะเปะสะปะมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน ตัวอย่างเช่นหลายกลุ่มได้มีความคิดย้อนหลังโดยการโจมตีเลสเบียนและเกย์ แต่ใจให้ข้อสังเกตว่าการทำแบบนี้ไม่ได้เป็นการสะท้อนของกลุ่มทั้งหมด และไม่ได้เป็นการทำให้คนซึ่งเข้ามารวมพลังกับกลุ่มเสื้อแดงดำเนินการไปในทิศทางที่ก้าวหน้าไม่ได้ ใจได้ใส่เสื้อสีแดงและประกาศว่าเขาเป็นสมาชิกเสื้อแดง

การบรรยายได้เริ่มขึ้น และได้มีการเปิดโอกาสให้ตั้งคำถาม ให้มีการแสดงความคิดเห็น และให้มีการโต้แย้ง ผู้ฟังได้มีการแยกข้างกันอย่างเห็นได้ชัดต่อความคิดในแง่ดีของใจ จุดที่น่าสนใจที่สุดในการบรรยายคือ

  • การโจมตีเรื่องส่วนตัวที่ค่อนข้างจะบ้าคลั่งจากพวกเสื้อเหลืองดังกล่าว กับคำถามว่าลูกครึ่งอังกฤษอย่างใจเป็นคนไทยหรือเปล่า ผู้หญิงชาวตะวันตกที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานได้แสดงความเสียใจว่าเธอไม่ถูกยอมรับว่าเป็นคนไทย ใจยังได้ถูกกล่าวหาว่าโจมตีประเทศไทยและไม่เคยพูดถึงไทยในแง่ดี
  • ถ้าความวุ่นวายทางการเมืองยังคงมีต่อเนื่อง อาจจะถูกประเทศจีนเข้ายึด
  • หมอไทยได้แย้งว่านโยบายประกันสุขภาพทั่วประเทศเป็นนโยบายที่ขโมยจาก รมต.สาธารณสุข ซึ่งส่งเสริมให้มีการเข้ารับการตรวจรักษาและทำให้โรงพยาบาลแออัด และยังเดาว่าทักษิณได้ทำกำไรจากโรงพยาบาลส่วนตัวที่มีหลายสาขาทำให้ชนชั้นกลางต้องมองหาการรักษาที่มีคุณภาพสูงขึ้น
  • ความหมายของ “เศรษฐกิจพอเพียง” คืออะไร
  • คนเสื้อแดงใกล้ชิดกับทักษิณเกินไปไหม ถ้าแบบนี้ก็ไม่ได้เป็นพวก “อิสระจากการเมือง” หรือ พวกนี้ก็เป็นเพียงพันธมิตร
  • หรือคนไทยจะแตกต่างไปจากคนอังกฤษและคนอเมริกา และถ้าเป็นแบบนี้ทำไมไม่ลอกเอามาจากอังกฤษหรืออเมริกา และทำตามเขา
  • กษัตริย์ควรจะทำอย่างไร ใจจะทำอะไรถ้าเป็นกษัตริย์ ใจจะทำอะไรต่อไป
  • ประเทศไทยจะยังคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือไม่ ในขณะที่ประเทศกำลังอยู่ในการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ความทันสมัยโดยไม่มีกษัตริย์ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อกษัตริย์สิ้นพระชนม์ อะไรคือประเทศไทยถ้าประชาชนไม่ได้มีนิยามว่าเป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อกษัตริย์และไม่ได้เป็นชาวพุทธ

เรื่องที่สำคัญจริงๆแล้วไม่ใช่สถาบันต่างๆ แต่เป็น “ธรรมเนียมทางการเมือง” ของไทย และการที่กษัตริย์เป็นจุดรวมของ “แนวคิดอย่างมีคุณค่า”

คนไทยคนหนึ่งได้ให้ความเห็นว่าถ้าประชาชนเลือกลงคะแนนเสียงให้ทักษิณ พวกเขาก็เลือกที่จะ “จงรักภักดีและเคารพ” ต่อกษัตริย์ด้วยเหมือนกัน ได้มีผู้ฟังบางคนที่เทิดทูนกษัตริย์ ผู้ฟังคนหนึ่งได้เล่าถึงการได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ ผู้ฟังบางคนได้ชูพระบรมฉายาลักษณ์เทิดทูนพระเกียรติคุณของกษัตริย์ และร้องว่า “ทรงพระเจริญ” และมีผู้ฟังประมาณ ๑๕ คนตบมือ

  • ทำไมต้องมีกฎหมายหมิ่นฯ ถ้ากษัตริย์ทรงเป็นที่รักและทรงเป็นที่ยกย่องขนาดนี้ เป็นเพราะพวกคลั่งเจ้าที่กลัวไปเองหรือเปล่าจึงใช้วิธีตอบโต้สุดโต่งอย่างนี้
  • ใจยอมรับผลจากการลงประชามติเรื่องกฎหมายหมิ่นฯไหม
  • กฎหมายหมิ่นฯจะอยู่คู่กับประชาธิปไตยแบบสมัยใหม่ได้ไหม ผู้ฟังดูเหมือนจะอิหลักอิเหลื่อจะถกเถียงในเรื่องสำคัญเรื่องนี้ ผู้บรรยายคนหนึ่งได้ให้ความเห็นว่าอำนาจศาลตามกฎหมายอาจทำให้คนไม่กล้าพูดแม้จะอยู่ในอังกฤษ อย่างไรก็ดีมีคนฟังคนไทยคนหนึ่งได้เสริมว่าคำถามนี้เป็นคำถามที่โง่และมันไม่สมควรแม้แต่ปรากฏอยู่ตามหลักสูตรของรัฐศาสตร์พื้นฐาน คำตอบที่ชัดคือเสรีภาพในการแสดงออกเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาธิปไตย

ต้องสังเกตว่าประเด็นที่สำคัญที่สุดหลายๆประเด็น ในการที่ชาวตะวันตกเพียงหยิบมือออกมาต่อต้านการจัดตั้งนิกายออโธด้อกซ์หัวเก่า ก็คล้ายกับผู้ฟังคนไทยหลายๆคนที่ยังใช้การยกย่องกษัตริย์อย่างธรรมเนียมเก่าๆ ที่ว่าพระองค์ทรงงานหนักและทรงช่วยประชาชนอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย และทรงเป็นที่รักของคนทั่วไป เป็นต้น มีเสียงคนคัดค้านเพียงหนึ่งหรือสองเสียงในธรรมเนียมเก่าๆแบบนี้ และมีชาวตะวันตกคนหนึ่งได้ให้ความเห็นในเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกษัตริย์ที่ทรงเป็นจุดรวมใจ

ใจได้ตอบในตอนท้ายว่า

  • ด้านสุขภาพ: ทักษิณไม่ได้ลอกนโยบายมาจากที่ไหน ต้องให้เครดิตทักษิณ พรรคการเมืองควรสร้างนโยบายของตัวเองให้แตกต่างจากพรรคอื่น และพรรคการเมืองควรเสนอทางเลือกที่เป็นจริงให้ประชาชน โรงพยาบาลแน่นก็เพราะคนต้องการความช่วยเหลืออย่างแท้จริง ไม่ใช่เพราะเป็นห่วงเรื่องสุขภาพที่เกินพอดี และควรเพิ่มงบประมาณด้านสาธารณะสุขโดยการคิดภาษีในอัตราก้าวหน้าเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้
  • เศรษฐกิจพอเพียง: ความคิดที่มีพื้นฐานตรงกันข้ามและต่อต้านสวัสดิการนิยม (anti-welfarist) เป็นการป้องกันประชาชนตามสมควรแก่ฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละคน
  • วัฒนธรรมไทย: แทนที่กษัตริย์ ซึ่งเหมาะกับ “คุณค่าทางอุดมคติ” ควรจะมีภาระในการส่งเสริมความเท่าเทียมกัน ความมีเสรีภาพ และความเป็นปึกแผ่น และการจะนับถือคนชราอย่างแท้จริงต้องมีรัฐสวัสดิการเพื่อดูแลพวกเขา วัฒนธรรมไทยไม่เป็นหนึ่งเดียว การสอนในโรงเรียน ถูกสอนให้คล้อยตาม และมีการแบ่งชนชั้นในสังคม
  • กษัตริย์: ใจไม่เคยทำหน้าที่เป็นกษัตริย์ แต่ในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญควรปกป้องรัฐธรรมนูญและความเป็นประชาธิปไตย และถ้าท่านไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ก็ให้ประกาศออกมาและถอยออกไปเสีย คนไทยควรสนับสนุนให้กษัตริย์ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ความคิดในเรื่องที่ว่าคนทั่วไปเคารพกษัตริย์อย่างไม่เสื่อมคลาย เป็นความคิดในอดีตไปแล้ว ในปี ๒๔๗๓ ได้มีเหตุการณ์ “การไม่ให้ความสำคัญ” ของระบอบกษัตริย์ และในเดือนตุลาคม ๒๕๑๙ กษัตริย์ได้ให้การสนับสนุนกับการปราบปรามอย่างนองเลือดต่อฝ่ายซ้าย เพื่อตอบโต้ในเรื่องที่ว่า “มีประชาธิปไตยมากเกินไป” ท่านได้วิจารณ์ว่าระบบสวัสดิการทำให้คนขี้เกียจ แต่โครงการของท่านก็ช่วยได้แค่ไม่กี่คน และยังน้อยกว่าการมีรัฐบาลที่ทำงานกันได้อย่างต่อเนื่อง และประชาชนที่ได้ทำการพัฒนาประเทศไทยที่แท้จริงก็คือ ชาวนาและคนงาน

ในขณะนี้กฎหมายหมิ่นฯไม่ได้ปกป้องราชวงศ์แต่กลับทำความเสื่อมเสียให้ราชวงศ์ การยกเลิกกฎหมายหมิ่นและมองดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นจะเป็นการพิสูจน์อย่างแท้จริงในความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ การลงมติจะเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ถ้าได้มีการลงมติทุกห้าปีและภายใต้เงื่อนไขที่ว่าต้องยอมให้มีการโต้แย้งอย่างเปิดเผย กฎหมายละเมิดคำสั่งของศาลซึ่งปกป้องผู้พิพากษาจากการถูกวิจารณ์ก็ควรถูกลบทิ้งไปด้วย เมื่อกษัตริย์องค์ปัจจุบันสิ้นพระชนม์ลง ผู้ที่สืบราชบัลลังก์คือเจ้าฟ้าชาย ซึ่งไม่เป็นที่นิยมของประชาชนนัก การเป็นสาธารณรัฐอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

  • เสื้อแดง: ยังไม่รวมตัวกันอย่างแน่นแฟ้น แต่เติบโตมากกว่าตอนมาจากพรรคพวกของทักษิณ มีความเป็นตัวของตัวเองในหลายๆด้าน ดังแสดงให้เห็นจากป้ายที่ทำกันขึ้นมาเอง ประกาศตัวเองว่ามาจากกลุ่มต่างๆ จะเติบโตเกินหน้านโยบายย้อนรอยเดิมของไทยรักไทย คนไทยมีหน้าที่ที่จะต้องเข้าร่วมกับการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยนี้ และทำให้มีความก้าวหน้ามากขึ้นและมีอิสระมากขึ้นจากทักษิณ

สำหรับนักศึกษาที่กำลังศึกษาการเมืองไทย มุมมองที่น่าสนใจที่สุดของคืนนี้อาจจะเป็นการประกาศตัวว่าเป็นเสื้อแดง ใจอาจจะยอมรับคำสัญญาซึ่งขณะนี้มีความเป็นไปได้มากกว่าจะเป็นเรื่องจริง การออกมาแสดงความแตกแยกทางสังคมบนถนนในประเทศไทยในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เป็นการปลุกการเคลื่อนไหวของมหาชนอย่างใหญ่หลวง ในการตอบโต้กับการเคลื่อนไหวของชนชั้นกลางชาวกรุงเทพ

ใจได้ให้ความเห็นว่า การเติบโตของกลุ่มเสื่อแดงจะขี้นอยู่ที่ว่า กับใครที่จะเข้ามาร่วมและจะมีการนำกลุ่มอย่างไร ไม่มีทางแน่ๆที่ฝ่ายขวาจะยอมเปิดทางให้ทักษิณมีการรวมเอานโยบายสวัสดิการนิยม และนโยบายภายในประเทศซึ่งเป็นของฝ่ายขวา มาสร้างความนิยมเพิ่มขึ้นให้กับตัวเองมากขึ้นไปอีก เป็นเรื่องน่าสนใจที่จะติดตามดูและเราจะจับตามองการพัฒนานี้

สุดท้ายนี้ เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อว่าคนไทยที่มีการศึกษาสูง (หลายๆคนในผู้ฟังนี้เป็นนักศึกษา) ได้ถูกครอบงำการคิดแบบนิกายออโธด้อกซ์(หัวเก่า)ต่อราชวงศ์ อีกครั้งจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะดูว่า จะอยู่ได้นานแค่ไหนเมื่อบัลลังค์ถูกส่งต่อไปยังเจ้าฟ้าชาย

จุดหมายต่อไปของใจคือ แคมบริจน์

(ลี โจนส์ เป็นนักวิจัยของโรส ภาคความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่ที่เลดี้มาร์กาเรทฮอล์ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด)

    Depoliticization: การทำให้ไม่เป็นการเมือง นับตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เมื่อครั้งประเทศไทยยังคงได้ชื่อว่าประเทศสยาม ระบอบการปกครองนั้นก็พยายามที่จะให้ ‘ไม่มีการเมือง’ จะมีก็แต่การแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม โดยผู้ปกครองที่ดี มีเมตตาธรรม รวมทั้งหลักเกณฑ์ที่ใช้ชี้วัดความเป็นคนดี ก็จะพิจารณาจากชาติตระกูล ใครมีชาติตระกูลดี ก็ย่อมได้รับการอบรมสั่งสอนมาดี ทำให้เป็นผู้มีคุณธรรม เป็นต้น – ที่มา เว็บมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

No comments yet

ใส่ความเห็น